
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับ
ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในปี 2022 พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน ต่อปี (เฉลี่ยประมาณ 400 คนต่อวัน) มะเร็งตับ (Liver Cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในชายไทย และพบเป็นอันดับ 3 ในหญิงไทย
ผู้เป็นมะเร็งตับส่วนใหญ่ “ไม่มีอาการ” และมักมีอาการเมื่อเป็นโรคมากแล้ว นั่นคือ สาเหตุที่ทำให้พบว่าเป็นมะเร็งตับเมื่อเป็นระยะหลังแล้ว
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับ ได้แก่
1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) หรือ ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการติดเชื้อมาเป็นระยะเวลานาน
2. การดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ทำให้เกิด ตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด
3. ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ (NAFLD, Non-alcoholic fatty liver หรือ ชื่อใหม่ที่เรียกว่า MASLD)
ซึ่งเมื่อปล่อยให้มีไขมันพอกตับเป็นระยะเวลานาน ก็จะนำไปสู่ตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด
4. ตับแข็ง (Cirrhosis) เป็นภาวะที่ตับเสียความยืดหยุ่นของเนื้อตับไปแล้ว โดยปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัย ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบมาก่อน การดื่มแอลกอฮอล์มานาน และภาวะไขมันพอกตับ เป็นต้น
5. การได้รับสารพิษอะฟลาท๊อกซิน (Alpha toxin) สารนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนมากับอาหารที่เก็บรักษาไม่ดีนัก เช่นอยู่ในที่อับชื้น ไม่สะอาด
สิ่งที่ควรทำคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และ การตรวจร่างกายประจำปี
ซึ่งนอกจากการตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับแล้ว การอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง การตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan) ก็จะสามารถประเมินภาวะไขมันพอกตับ ความยืดหยุ่นของตับได้
ป้องกันดีกว่ารักษา รู้เร็วรักษาได้
รศ. พญ. เปรมจิต จันทองจีน
#มะเร็งตับ #ไวรัสตับอักเสบบี #ไวรัสตับอักเสบซี #ตับอักเสบ #ตับแข็ง #ดื่มแอลกอฮอล์ #ไขมันพอกตับ #อะฟลาท๊อกซิน #ไฟโบรสแกน #fibroscan #เวเลอร์คลินิก #ป้องกันดีกว่ารักษา #รู้เร็วรักษาได้