
เนื่องในวันมะเร็งโลก 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อาการเตือนบางอย่างของผิวหนังสามารถบ่งบอกถึงมะเร็งได้ หมั่นสังเกตความผิดปกติในร่างกายเพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีนะคะ
การให้ผู้หญิงคลำเต้านมเป็นประจำ และการตรวจ แมมโมแกรม (#mammogram) ประจำปี ถือเป็นคำแนะนำมาตรฐานเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (#BreastCancer) ได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ นอกจากก้อนในเต้านมที่อาจพบเป็นปัญหาแล้ว ในบางกรณีอาจพบการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังก่อนการพบก้อนในเต้านมได้
ลักษณะผิวหนังที่อาจเป็นสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม:
- หัวนมบุ๋ม หรือหว่ำลง (#dimpling) มักเกิดจากพังผืดหรือการดึงรั้งจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในเนื้อเต้านม ทำให้ดึงรั้งหัวนมให้บุ๋มหรือหว่ำลง
- เต้านมบวมแดงเจ็บ อาจคลำได้ก้อนหรือไม่ก็ได้
ภาวะที่พบได้บ่อยคือการติดเชื้อแบคทีเรียถึงชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Cellulitis) มักพบในหญิงที่มีเนื้อเต้านมค่อนข้างมาก เต้านมอักเสบ (mastitis) มักพบในหญิงให้นมบุตร โดยทั้งสองกรณีจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
อย่างไรก็ตาม การบวมแดงเจ็บนี้ก็อาจเป็นระยะเริ่มต้นหรือเป็นส่วนหนึ่งของการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมบางชนิดได้ด้วย - ผิวหนังบริเวณเต้านมหนาขึ้นคล้ายเปลือกส้ม (peau d’orange)
เป็นลักษณะของผิวหนังที่บวม ตึง เหมือนผิวหนังหนาขึ้น เห็นรูขุมขนชัดเจนขึ้น ทำให้มีลักษณะผิวหนังคล้ายเปลือกส้ม เป็นการบ่งบอกถึงการอุดตันของทางเดินน้ำเหลืองบริเวณผิวหนัง ซึ่งมะเร็งเต้านมก็อาจเป็นสาเหตุนี้ได้ - หัวนมแตกแดงขุย สะเก็ด
ผิวหนังที่แดง คัน มีขุย มักเป็นลักษณะของผื่นผิวหนังอักเสบ โดยเฉพาะผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณหัวนม (Nipple #eczema) เป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยในคนที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis)
อย่างไรก็ตาม มีมะเร็งเต้านมบางชนิด (Paget’s disease) พบการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเช่นนี้เป็นอาการเริ่มต้นได้
นอกจากก้อนที่เต้านมจะเป็นลักษณะสำคัญในมะเร็งเต้านมแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังบางรูปแบบก็อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคนี้ได้เช่นกัน
มะเร็งเต้านม – รู้เร็ว รักษาเร็ว อาจหายขาดได้
รศ.พญ.เปรมจิต จันทองจีน