นโยบายความเป็นส่วนตัว

เวเลอร์คลินิกเวชกรรม

เวเลอร์คลินิกเวชกรรม (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “คลินิก”) มุ่งมั่นที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะผู้เข้ารับ บริการตรวจ รักษาโรค และบริการทางการแพทย์ รวมถึงบริการต่าง ๆ จากคลินิก ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะได้รับการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คลินิกในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการ แจ้งเอกสารฉบับนี้ให้ท่านทราบถึงเหตุผลและวิธีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแจ้งให้ทราบสิทธิของท่านใน ฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

1. คำนิยาม

ในนโยบายฉบับนี้ คำหรือข้อความสามารถนิยามได้ดังนี้

1.1 ข้อมูลส่วนบุคคล

หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

1.2 ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว

หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือ ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

1.3 เจ้าของข้อมูล

หมายถึง บุคคลซึ่งสามารถถูกระบุตัวตนได้โดยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม

1.4 ประมวลผล

หมายถึง การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านผู้เป็น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

1.5 เว็บไซต์

หมายถึง เว็บไซต์ ซึ่งเวเลอร์คลินิกเวชกรรมเป็นเจ้าของหรือให้บริการแล้วแต่กรณี

1.6 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอํานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

1.7 ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคลที่คลินิกเก็บรวบรวม สามารถจำแนกเป็นประเภทดังต่อไปนี้

2.1 ข้อมูลระบุตัวตน

เช่น ชื่อ นามสกุล รูปถ่ายใบหน้า เพศ วันเดือนปีเกิด อายุศาสนา สัญชาติ หนังสือ เดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่ระบุตัวตนอื่น ๆ เป็นต้น

2.2 ข้อมูลสำหรับการติดต่อ

เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น

2.3 ข้อมูลการเงิน

เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต ข้อมูลใบเสร็จ และ รายละเอียดบัญชีคลินิก

2.4 ข้อมูลการเข้ารับบริการ

เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการเกี่ยวกับ ห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่น ๆ

2.5 ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์

เช่น ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (IP Address) ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (Location) โดยใช้เทคโนโลยีระบุ ตำแหน่ง ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เปิดดูเว็บไซต์ (Browser) ข้อมูล บันทึกการเข้าออกเว็บไซต์ ข้อมูลบันทึกประวัติการใช้เว็บไซต์ ข้อมูลบันทึกการเข้า สู่ระบบ (Login Log) ข้อมูลรายการการทำธุรกรรม (Transaction Log) สถิติการ เข้าเว็บไซต์ เวลาที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ (Access Time) ข้อมูลที่ถูกค้นหาหรือเข้าชม ข้อมูลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) การใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ในเว็บไซต์ และข้อมูลที่คลินิกได้เก็บรวบรวมผ่านคุกกี้ (Cookie) หรือเทคโนโลยีอื่นที่ คล้ายกัน เป็นต้น

2.6 ข้อมูลด้านสุขภาพ

เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาล รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต การ ดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ ผลการทดสอบจากห้องทดลอง การวินิจฉัย ชื่อโรคที่ ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและแพ้ยา ประวัติแพ้อาหาร ผล เลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทาง รังสีวิทยา และรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา รายการยาที่แพทย์ได้สั่ง ข้อมูลที่ จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์ เป็นต้น

3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

3.1 คลินิกได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยตรง เช่น เมื่อท่านใช้บริการและ/หรือให้ข้อมูลผ่านเว็ปไซต์ของคลินิก หรือ เมื่อคลินิกได้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการที่ท่านติดต่อสอบถามกับคลินิกเรื่องการบริการ หรือท่านได้ ลงทะเบียนเข้ารับบริการทางการแพทย์ และบริการต่าง ๆ จากคลินิกด้วยตนเองที่คลินิก รวมทั้งการลงทะเบียน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

3.2 คลินิกอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม ได้แก่ บุคคลที่มีความใกล้ชิดกับท่าน เช่น ญาติ คู่สมรส บุคคลที่ท่านมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนตัวท่านในการติดต่อกับคลินิก เป็นต้น รวมทั้งคลินิกอื่นในกรณีที่ท่าน ได้ให้ความยินยอมไว้ว่าให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ ตลอดจนบุคคล นิติบุคคล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษาและใช้บริการกับคลินิก หรือเป็นผู้ชำระค่าบริการให้กับท่าน

4. วัตถุประสงค์ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

คลินิกมีวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยอาศัยหลักเกณฑ์หรือฐานทาง กฎหมาย ดังต่อไปนี้

4.1 เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์คณะแพทย์ พยาบาล และ/หรือ บุคลากรอื่น ๆ ของคลินิกจะทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อประเมินความพร้อมของผู้รับบริการก่อน ระหว่าง และหลังการตรวจวินิจฉัยพิเศษ เพื่อ ติดตามการรักษา และ/หรือ กระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ท่านเข้ารับบริการ โดยคลินิกจะอธิบาย ข้อมูลรายละเอียดให้ท่านได้เข้าใจก่อนที่จะดำเนินการ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ท่านซักถามจนเป็นที่พอใจ

4.2 เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บเอกสารเวชระเบียน ศึกษาวิเคราะห์สําหรับการพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาลคลินิกอาจนําข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวของท่าน เช่น ผลการตรวจสุขภาพ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือทางรังสีวิทยา เป็นต้น ไปใช้เพื่อการศึกษาวิเคราะห์สําหรับการพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาล เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนากระบวนการการดูแลรักษาผู้รับบริการ เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลของคลินิก เพื่อทบทวนประวัติการรักษา และ เพื่อขอดูประวัติการรักษาย้อนหลัง ทั้งนี้คลินิกและบุคลากรของคลินิกมีหน้าที่รักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวของท่าน อย่างเคร่งครัด

4.3 เพื่อติดต่อสื่อสารหรือส่งมอบบริการของคลินิกผ่านทางโทรศัพท์ ข้อความ อีเมล หรือไปรษณีย์ หรือผ่านช่องทาง อื่นใด เพื่อสอบถาม หรือแจ้งให้ท่านทราบ เช่น การส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของคลินิก เป็นต้น

4.4 เพื่อวัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงินเช่น การจัดเก็บรวบรวมเอกสารการชำระเงินทุกประเภทของผู้รับบริการเพื่อ ใช้เป็นเอกสารหลักฐานทางการเงินและการบันทึกบัญชี การตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น

4.5 เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลที่ สาม โดยคลินิกจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บริษัทประกันภัย เพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านได้ทำไว้กับบริษัท ประกันภัย รวมถึงบุคคลที่สามตามที่ท่านมีสัญญาต่อกัน ตลอดจนบุคคล นิติบุคคล หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล

4.6 เพื่อป้องกันการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย (หรือรักษาความปลอดภัย)คลินิกอาจมีการบันทึกและ จัดเก็บข้อมูลกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งไว้บริเวณอาคารและสถานที่ต่าง ๆ ของคลินิกตามมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อ ป้องกันเหตุอันตรายอันอาจเกิดขึ้นต่อผู้เข้าใช้อาคารสถานที่หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อคลินิก

4.7 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆ จากหน่วยงานภาครัฐเช่น เพื่อเป็นพยานเอกสารในกรณีที่ เกี่ยวข้องกับกฎหมาย การปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่น ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

นอกจากวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้นแล้ว คลินิกจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ยกเว้นในกรณีที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อนุญาต เช่น

1. เมื่อได้รับความยินยอมจากท่าน (ม.24) หรือเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในกรณีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ อ่อนไหว (ม.26)

2. เพื่อการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิและเสรีภาพของ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.24 (1))

3. เพื่อป้องกันระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ (ม.24 (2))

4. เพื่อการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างคลินิกกับท่าน (ม.24 (3))

5. เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ม.24 (4))

6. เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุผล (ม.24 (5))

7. เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย (ม.24 (6))

8. เพื่อป้องกันระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ สามารถให้ความยินยอมได้ (ม.26 (1))

9. เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย (ม.26 (4))

10.เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข หรือการคุ้มครองทางสังคมอื่นใด โดยคลินิกจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26 (5) (ข))

11. เพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงาน การให้สวัสดิการรักษาพยาบาล การประกันสังคม (ม.26 (5) (ค))

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

คลินิกจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามวัตถุประสงค์ข้างต้นแก่ผู้เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้เท่านั้น

5.1 หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล หรือหน่วยงานอื่นตามที่มีอำนาจตามกฎหมาย รวมถึงเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มี หน้าที่หรือใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันนิติเวช ศาล เป็นต้น

5.2 บริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการบริหารจัดการสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยนั้น

5.3 คลินิกที่รับการส่งต่อผู้ป่วย

5.4 ผู้ส่งท่านมาตรวจรักษา หรือใช้บริการกับคลินิก หรือชำระเงินค่าบริการแทนท่าน

5.5 ผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่คลินิกมอบหมายหรือว่าจ้างให้ทำหน้าที่บริหารจัดการหรือ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่คลินิกในการให้บริการต่าง ๆ เช่น ผู้ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้บริการด้านความ ปลอดภัย การให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือบริการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของคลินิกหรืออาจเป็น ประโยชน์ต่อท่าน

5.6 บุคคล หรือหน่วยงานอื่นใดที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

6. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

6.1 คลินิกใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และฉบับแก้ไขล่าสุด โดยคลินิกจะเก็บเวชระเบียน ฉบับจริงไม่เกิน 5 ปีและเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่เกิน 15 ปีนับจากวันที่มารับการ รักษาพยาบาลครั้งสุดท้าย เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง สำเนา และเวชระเบียนรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์

6.2 ในกรณีที่คลินิกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเพื่อเข้า กระบวนการระงับข้อพิพาทใด ๆ คลินิกอาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความตามกฎหมายแล้วแต่กรณ

ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว คลินิกจะดำเนินการลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำ ให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้

7. มาตรการในการเก็บรักษาและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

คลินิกตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน คลินิกจึงกำหนดให้มี มาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ทำลาย ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในนโยบายและ/ หรือแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของคลินิก

คลินิกจะจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการป้องกันด้านการบริหาร จัดการ มาตรการป้องกันด้านเทคนิค และมาตรการป้องกันทางกายภาพในเรื่องการเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล อัน ประกอบไปด้วยการดำเนินการดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

1) การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยคำนึงถึงการใช้งาน และความมั่นคงปลอดภัย

2) การกำหนดเกี่ยวกับการอนุญาตหรือกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

3) การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งานเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว

4) การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การล่วงรู้ หรือการลักลอบทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล การลักขโมยอุปกรณ์จัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

5) การจัดให้มีวิธีการเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังเกี่ยวกับการเข้าถึง เปลี่ยนแปลง ลบ หรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคล ให้ สอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการและสื่อที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

8. การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบุคคลภายนอก

เว็บไซต์ของคลินิกอาจมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบุคคลภายนอก ซึ่งบุคคลภายนอกเหล่านั้นอาจเก็บรวบรวมข้อมูล บางอย่างเกี่ยวกับการใช้บริการของท่าน โดยคลินิกไม่สามารถรับผิดชอบในความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูลใด ๆ ของท่านที่เก็บรวบรวมโดยเว็บไซต์ของบุคคลภายนอกดังกล่าว ท่านจึงควรใช้ความระมัดระวังและตรวจสอบนโยบายความเป็นส่วนตัว ของเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์ และบริการของบุคคลภายนอกเหล่านั้น

9. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

คลินิกอาจจะส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผย ไปยังต่างประเทศ เพื่อการปฏิบัติตาม สัญญาที่ท่านเป็นคู่สัญญา เพื่อดำเนินการตามคำขอของท่าน เพื่อการดำเนินธุรกิจตามปกติของคลินิก หรือตามวัตถุประสงค์ในการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลที่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิร้องขอให้คลินิกดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามขอบเขตที่ กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ ดังนี้

10.1 ท่านมีสิทธิที่จะทราบหรือขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของคลินิก หรือขอให้ คลินิกเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม

10.2 ท่านมีสิทธิที่จะขอให้คลินิกดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ได้ในกรณีที่ท่านเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลใดที่เกี่ยวกับตนไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่สมบูรณ์ หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

10.3 ท่านมีสิทธิขอเพิกถอนความยินยอมที่ให้คลินิกเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่การเพิกถอนความยินยอมจะมีข้อจำกัดโดยกฎหมายหรือสัญญา เช่น ท่านยังมีภาระหนี้หรือภาระผูกพันตามกฎหมายอยู่กับ คลินิก เป็นต้น ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมดังกล่าวอาจทำให้ท่านไม่สามารถรับบริการหรือทำธุรกรรมกับคลินิกได้ หรือ อาจทำให้บริการที่จะได้รับจากคลินิกไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

10.4 ท่านมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากคลินิกได้ในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่าน หรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งท่าน มีสิทธิขอให้คลินิกส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น เมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือท่านมีสิทธิขอรับข้อมูลที่คลินิกส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่สภาพ ทางเทคนิคไม่สามารถทำได้

10.5 ท่านมีสิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนตามที่กฏหมายให้สิทธิท่านไว้

10.6 ท่านมีสิทธิขอให้คลินิกลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลด้วยเหตุบาง ประการได้

10.7 ท่านมีสิทธิขอให้คลินิกระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามที่กฏหมายให้สิทธิท่านไว้

10.8 ท่านมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่คลินิกหรือผู้ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของคลินิก ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคล พ.ศ. 2562 หรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย

ทั้งนี้ คลินิกขอสงวนสิทธิในการพิจารณาคำร้องขอใช้สิทธิข้างต้นและดำเนินการตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนด หากท่านประสงค์จะใช้สิทธิข้างต้นสามารถดำเนินการโดยติดต่อด้วยตนเองที่

เวเลอร์คลินิกเวชกรรม

เลขที่ 2/22 อาคารไอยรา ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน

เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

โทร 02-287-4924

11. การเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

คลินิกขอสงวนสิทธิในการแก้ไขนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยคลินิกจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว นอกจากนี้ คลินิกอาจจะแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวเพิ่มเติม เช่น วัตถุประสงค์ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่อยู่นอกเหนือจากนโยบายฉบับนี้ เป็นต้น หรือคลินิกอาจทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายความ เป็นส่วนตัวในอนาคต เพื่อพัฒนาให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดีขึ้น โดยคลินิกจะแจ้งให้ท่านทราบทุกครั้งที่มีการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว

12. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านประสงค์จะติดต่อ หรือมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายฉบับนี้ หรือกรณีที่พบว่ามีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปในทางที่ ไม่ชอบ ท่านสามารถติดต่อคลินิกผ่านทางช่องทางดังต่อไปนี้

เวเลอร์คลินิกเวชกรรม

เลขที่ 2/22 อาคารไอยรา ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน

เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

โทร 02-287-4924

ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566

กรรมการบริหารคลินิก