
7 เรื่องผิวหนังบอกโรคไทรอยด์
ไทรอยด์เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อช่วยควบคุมระบบเมตาบอลิซึม การเผาผลาญ รวมถึงความดันโลหิตในร่างกายด้วย
ในประเทศทางตะวันตก พบโรคของต่อมไทรอยด์ได้มากกว่า 10% ของประชากร แต่ในไทยพบได้ประมาณ 5% ของประชากร และมักพบเมื่อมีอาการมากแล้วด้วย
อาการของโรคไทรอยด์ มีทั้งกลุ่มที่ฮอร์โมนทำงานมากเกินไป (#hyperthroid) และกลุ่มที่ฮอร์โมนทำงานน้อยไป (#hypothyroid) ซึ่งมักมีอาการที่ไม่จำเพาะนัก เช่น หิวเก่ง กินเก่ง น้ำหนักเพิ่มหรือลดก็ได้ เหงื่อออกมากหรือน้อยผิดปกติ ใจสั่น เป็นต้น
ลักษณะทางผิวหนังที่ช่วยบอกโรคไทรอยด์ ได้แก่
- ตาโปน (exophthalmos)
เป็นผลจากฮอร์โมนที่เกินไปสะสมที่กล้ามเนื้อหลังลูกตา
ทำให้กล้ามเนื้อหลังลูกตาและไขมันในเบ้าตาบวมดันลูกตายื่นออกมา
ถ้าทิ้งไว้นานอาจมีผลต่อการมองเห็น เห็นภาพซ้อนได้ - คอโต (goiter)
อาจสังเกตได้ว่าคอโตขึ้น ซึ่งอาจคลำพบก้อนหรือไม่ก็ได้
วินิจฉัยโดยให้แพทย์ตรวจร่างกาย หรือ อัลตร้าซาวน์บริเวณคอ
ผิวหนังบวมนูนผิดปกติ (#myxedema)
ผิวหนังบวมนูน แข็ง มันวาว
มักพบบริเวณหน้าแข้ง
อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ - คัน (itching)
คันโดยไม่มีผื่นนำมาก่อน
มักคันโดยทั่วๆของร่างกาย - ผมร่วง (hair loss)
พบผมร่วงผิดปกติ กระจายทั่วหนังศีรษะ
อาจพบขนคิ้วร่วง โดยเฉพาะคิ้วด้านข้าง - เล็บผิดปกติ
นิ้วปุ้ม (clubbing finger)
เล็บไม่เรียบ ขรุขระ
เล็บแห้ง เปราะ
เล็บยาวเร็วหรือช้าผิดปกติ
มักเป็นหลายนิ้ว - มีประวัติโรคผิวหนังอื่น ได้แก่
- ด่างขาว
- ลมพิษเรื้อรัง
- ผมร่วงเป็นหย่อม
เพราะผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงอาจเป็นเพียงสัญญาณเตือนความผิดปกติอื่นๆในร่างกาย การสังเกตตัวเองและการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคที่ซ่อนอยู่ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที รู้เร็วรักษาได้
รศ.พญ.เปรมจิต จันทองจีน
📕อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/ValorClinicArticles
🩺นัดหมายปรึกษาคุณหมอ คลิก https://bit.ly/ValorClinicAppointment
✅ทักแชทสอบถามแอดมิน คลิก https://bit.ly/ValorClinicInbox
✅ปรึกษา ขอคำแนะนำผ่าน Line https://bit.ly/ValorClinicLineOA